samart
วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555
เซนต์เบอร์นาร์ด สุนัขนักบุญแห่งสวิส
เซนต์เบอร์นาร์ด สุนัขนักบุญแห่งสวิส
เซนต์เบอร์นาร์ด
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
เซนต์เบอร์นาร์ด (St. Bernard) สุนัข แสนรู้ที่เป็นที่รู้จักและโด่งดังมากจากภาพยนตร์เรื่อง Beethoven เป็นสุนัขขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา แต่ในความใหญ่โตกลับมิได้ดูดุร้ายหากแต่ยังน่ารัก ใจดี แถมหน้ายังดูเศร้าๆ อีกต่างหาก จากตำนานที่เล่าต่อๆ กันมาทำให้เราทราบว่า สุนัข พันธุ์นี้เป็นสุนัขนักบุญ (SAINT) ที่อยู่กับบาทหลวง และมีหน้าที่ในการกู้ภัยผู้คนมากมายจากพายุหิมะ
ในสมัยโบราณ สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด มีประโยชน์อย่างมากโดยการเป็นผู้ช่วยเหลือ นำทางคนบนพื้นที่ที่มีหิมะปกคลุมหนาแน่นโดยมันจะนำทางไปสู่จุดหมายที่คนต้องการได้และให้มันช่วยขนของดังกล่าวมาแล้วในขณะเดียวกัน Saint Bernard ก็มีบทบาทในการเป็นสุนัขอารักขาเฝ้าฝูงปศุสัตว์ ตลอดจนเฝ้าบ้านให้แก่เจ้านายได้เหมือนสุนัขใหญ่พันธุ์อื่นๆ ทั่วไป
สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากสุนัขขนาดใหญ่จากทวีปเอเชีย โดยชาวโรมันเป็นผู้นำไปแพร่พันธุ์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์และเกิดการผสมกันเองจนได้สุนัขพันธุ์ ST.BERNARD ขึ้นมา ชาวสวิสฯ มักนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ไว้คอยช่วยชีวิตผู้เคราะห์ร้ายระหว่างการเดินทางซึ่งส่วนมากนักเดินทางมักถูกหิมะถล่มและถูกฝังอยู่จุดใดใด เมื่อพบผู้เคราะห์ร้ายแล้วมันจะขุดและดึงผู้เคราะห์ร้ายขึ้นมา หลังจากนั้นมันจะนอนแนบผู้เคราะห์ร้ายเพื่อให้ความอบอุ่นและเลียจนผู้เคราะห์ร้ายได้สติ ส่วน สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด อีกตัวหนึ่งจะวิ่งเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อตามคนมาช่วย
สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด ที่มีชื่อเสียงและเป็นตัวอย่างสุนัขที่คนกล่าวถึงมานานคือ BARRY มันสามารถช่วยคนได้ถึง 40 คน BARRY เสียชีวิตในปี 1814 และประวัติของ BARRY ได้รับการจารึกไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติกรุงเบอร์น ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ลักษณะทั่วไปของ สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด
สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด จัดอยู่ในกลุ่ม WORKING สุนัข ที่มีโครงสร้างใหญ่ ใจดี และมีนัยน์ตาเศร้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสุนัขพันธุ์นี้ รูปร่างสูงเด่นได้สัดส่วน ดูแข็งแรงบึกบึน เต็มไปด้วยพละกำลัง มีกล้ามเนื้อสมส่วนแข็งแรง หัวกะโหลกใหญ่ หน้าผากกว้าง หูตก บริเวณคอใหญ่จนดูเหมือนว่ามีคอสั้น หน้าอกมีขนาดกว้างใหญ่ ช่วงขาแข็งแรง กระดูกขาใหญ่สมดุลกับตัว อุ้งเท้ามีขนาดใหญ่ มี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว
เซนต์เบอร์นาร์ด สามารถมีชีวิตนานถึง 9 ปี มีน้ำหนัก ประมาณ 73-110 กิโลกรัม สูง 70-90 เซนติเมตร ขนยาวหนา มีสีน้ำตาลแดง ขาว และดำ ปนกัน นร่างเป็นเอกลักษณ์ มีนิสัยเป็นมิตร ภักดี ฉลาด รักสนุก ช่างประจบประแจง น่ารัก (โดยเฉพาะกับเด็กๆ) และชอบคนมากๆ บุคลิกมีตั้งแต่เงียบขรึมจนถึงทะลึ่งตึงตังอยู่ไม่เป็นสุข ชอบการฝึกฝนและการพาเข้าสังคม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั่วโลก
อาหารและการเลี้ยงดู สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด
สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด จะเติบโตอย่างรวดเร็วในขวบปีแรก จนดูงุ่มง่ามในบางครั้งคุณควรต้องคอยดูแลน้ำหนัก ของลูกสุนัขไม่ให้เพิ่มเร็วมากเกินไป เพราะจะเป็นการเพิ่มแรงกดและเป็นภาระต่อกระดูกและข้อต่อที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ โดยให้ลูกสุนัขออกกำลังกายด้วยการเล่นขณะอยู่บ้าน แต่ต้องมีรั้วบ้านที่แข็งแรง และสูงอย่างน้อย 2 เมตร
และด้วยขนาดที่ใหญ่โตมโหฬารของ สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด เขาจึงเป็นสุนัขที่กินอาหารมาก เรียกว่า ถ้าคิดจะเลี้ยงล่ะก็ ต้องเลี้ยงให้สุด ทั้งเรื่องอาหาร ความเป็นอยู่ กินก็ต้องดีไม่อย่างนั้น จะมีปัญหาเรื่องไขข้อ เรื่องสุขภาพ นอนก็ต้องนอนห้องแอร์เพราะขนเยอะ รายละเอียดยุบยิบแบบนี้ ใครที่คิดจะเลี้ยงเจ้าสุนัขพันธุ์นี้นอกจากจะมีความพิศวาทเป็นทุนเดิมแล้ว ต้องดูด้วยว่าเราสามารถรับภาระอันใหญ่หลวงและสามารถเลี้ยงเขาให้ดีได้หรือไม่ จะได้ไม่เป็นปัญหาตามมาภายหลัง
โรคและการป้องกัน
สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด มักมีปัญหาในเรื่องสุขภาพ เนื่องจากมีอัตราการเติบโตเร็วมาก ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก หากไม่ได้กินอาหารที่ถูกต้อง การเลี้ยงแบบไม่ถูกสุขลักษณะ สารอาหารไม่เหมาะสม และการไม่ได้ออกกำลังกาย สาเหตุเหล่านี้ล้วนทำให้อายุมันสั้นและเจ็บกระเสาะกระแสะ กินเงินเจ้าของ โดยมีโรคประจำพันธุ์ เซนต์เบอร์นาร์ด คือ โรคข้อ โรคผิดปกติของตา โรคลมบ้าหมู โรคหัวใจ ฯลฯ
โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคนี้จะเป็นปัญหาที่พบกันค่อนข้างมาก อาการแรกเริ่ม สุนัข จะมีอาการเจ็บปวดขาหลังเวลาเดิน จึงไม่ชอบขยับเขยื้อน อาการจะมากขึ้นจนสุนัขไม่ยอมลุกขึ้นมาเดินอีกเลย ลักษณะจะแตกต่างกับอาการเจ็บขาธรรมดา คือ ถ้าสุนัขเจ็บขาธรรมดาจะเจ็บข้าง เดียวแต่ถ้าเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมจะเจ็บทั้ง 2 ข้าง สาเหตุอาจเกิดจากได้จากสายพันธุ์ และพันธุกรรม ซึ่งในส่วนของพันธุกรรม ก็คือความเสี่ยงต่อโรคที่สุนัขมีอยู่เป็นทุนเดิม ประกอบกับความไม่รู้ของผู้เลี้ยง อาหารที่ให้สุนัขกินจึงไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้น ผู้เลี้ยงจึงต้องดูแลเรื่องอาหาร ปรับความสมดุลทางโภชนาการ ให้กินอาหารที่หลากหลาย สุนัขที่โตเต็มที่แล้วควรให้อาหารแค่วันละมื้อ
โรคลมบ้าหมู จะทำให้สุนัขชักบ่อยๆ และควบคุมการทรงตัวไม่ได้ การแก้ไขเบื้องต้น ควรหาสถานที่ให้สุนัขอยู่อย่างสงบในห้องที่มืดๆ จนกว่าอาการชักจะทุเลาลง ในระหว่างที่สุนัขชักอย่าได้เข้าไปจับตัวเด็ดขาด เพราะมันอาจหันมากัดได้ ทั้งนี้ ยารักษาโรคลมบ้าหมูอาจช่วยลดอาการชักให้น้อยลงได้ แต่ควรปรึกษาการใช้ยาจากสัตวแพทย์ สำหรับสาเหตุของโรคชักเกิดจากพยาธิในลำไส้เป็นตัวการสำคัญ
โรคหัวใจ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หรือความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งอาการของสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจจะมีอาการซึมเศร้า น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง ท้องกาง ไอแห้งๆ และมักไอเวลากลางคืน มีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนแรง หายใจลำบาก เหงือกซีด เป็นลมหมดสติ ทั้งนี้ สุนัขที่เป็นโรคหัวใจ สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ แต่จะต้องดูแลเรื่องการให้ยาอย่างใกล้ชิด ควรงดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้สัตว์เหนื่อย เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น และสิ่งสำคัญคือ ระวังในเรื่องการให้อาหารและน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือ ต้องมีปริมาณเกลือต่ำ
อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจบางชนิดสามารถป้องกันได้อย่างเหมาะสม เช่น ฉีดวัคซีนโรคพยาธิหนอนหัวใจอย่างสม่ำเสมอ และไม่ขยายพันธุ์สุนัขที่เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดอาจถ่ายทอดทางกรรม พันธุ์ได้ และหากสุนัขแม่พันธุ์เป็นโรคหัวใจ จะมีความเสี่ยงในระหว่างการคลอดลูกด้วย นอกจากนี้การดูแลรักษาช่องปากในสุนัขก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากสุนัขมีหินปูนมาก หรือมีการอักเสบในช่องปากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคติดเชื้อในหัวใจได้
โรคต้อกระจก มักเกิดกับ สุนัข ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยจะมองเห็นแก้วตามีลักษณะขุ่นขาว ซึ่งสุนัขยังพอมองเห็นได้ แต่ถ้าแก้วตาขุ่นเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้มองไม่เห็น เนื่องจากแสงไม่สามารถผ่านเข้าไปยังจอรับภาพได้ ทั้งนี้สาเหตุเป็นเพราะโรคเบาหวาน หรือได้รับบาดเจ็บ มีแผลที่ตา อย่างไรก็ตาม โรคต้อกระจกอาจจะพบได้ในสัตว์อายุน้อยตั้งแต่เกิดจนถึง 3 ปี เนื่องจากเป็นมาตั้งแต่เกิด สำหรับการรักษา ควรรีบพาสุนัขของคุณไปพบสัตวแพทย์
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สุนัขสายพันธุ์กลาง



อเมริกัน ค็อกเกอร์ (AMERICAN COCKER SPANIEL)
ลักษณะท่าทางโดยทั่วไป เป็นสุนัขขนาดกลาง มีอุปนิสัยร่าเริง แจ่มใสตลอดเวลา
ลักษณะท่าทางโดยทั่วไป เป็นสุนัขขนาดกลาง มีอุปนิสัยร่าเริง แจ่มใสตลอดเวลา
ศีรษะ
| กะโหลกกว้างเล็กน้อย มีความสมส่วนกับขากรรไกร |
ขากรรไกร | มีความสมส่วนกับกะโหลกจากกะโหลกมาถึงขากรรไกร มีจุดตก (STOP) อย่างเห็นได้ |
ฟัน | เรียงกันเป็นระเบียบ ขบกันแบบขากรรไกร ขาว และไม่เล็กจนเกินไป |
จมูก | มีความสมดุลกับขากรรไกร แต่จะต้องมีสีดำ |
ตา | ตากลม ดวงตามีสีน้ำตาลเข้ม มีแววตาสดใส |
หู | หูยาวและกลม ตำแหน่งของหูอยู่ระดับเดียวกับตา ความยาวของหูต้องถึงปลายจมูก มีขนขึ้นปกคลุม |
คอและไหล่ | คอมีความยาวสมส่วนกับลำตัว และคอต้องตั้ง ยามเคลื่อนไหวเส้นหลังลาดลงมาจากหัวไหล่ |
ลำตัว | มีความกระชับ |
หาง | ตำแหน่งของหางอยู่เหนือบั้นท้าย และตัดออกให้สมส่วน และชี้ไปทางด้านหลัง |
ขาและเท้า | มีขนขึ้นปกคลุมที่ขาและเท้า ขาตรง นิ้วเท้ากำแน่น มีความแข็งแรง |
ขน | ขนที่หัวและหลังจะสั้นเรียบ มีความสะอาดเป็นเงางาม บ่งบอกถึงสุขภาพที่ดี |
การเคลื่อนไหว | ขาทั้ง 4 สัมพันธ์กัน มีความสมดุลและสง่างาม |
ขนาด | ความสูงวัดจากขาถึงหัวไหล่ สุนัขเพศผู้ สูง 15 นิ้ว , สุนัขเพศเมีย สูง 14 นิ้ว |


บาสเซ็ท ฮาวด์ (Baseset Hound)
Basset Hound เป็นสุนัขที่มีความสามารถในการตามกลิ่น มีขาที่สั้น กระดูกขาใหญ่มาก และจัดว่าใหญ่กว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่สุขุม แต่ไม่งุ่มง่าม เป็นสุนัขอารมณ์ดี ใจดี ไม่ตกใจกลัวง่าย มีความอดทนสูงในการตามกลิ่นในทุ่งกว้างได้อย่างยาวนาน
Basset Hound เป็นสุนัขที่มีความสามารถในการตามกลิ่น มีขาที่สั้น กระดูกขาใหญ่มาก และจัดว่าใหญ่กว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่สุขุม แต่ไม่งุ่มง่าม เป็นสุนัขอารมณ์ดี ใจดี ไม่ตกใจกลัวง่าย มีความอดทนสูงในการตามกลิ่นในทุ่งกว้างได้อย่างยาวนาน
ศีรษะ : | มีขนาดใหญ่และได้สัดส่วนที่ดี ความยาวจากด้านหลังของกะโหลก(Occiput)ไปจนถึงบริเวณจมูกและปาก (Muzzle) จะใหญ่กว่าความกว้างของหน้าผาก(Brow) ถ้าเทียบกับขนาดตัวทั้งหมดและหัวของมันจะมีขนาดพอดีๆ กะโหลกหัวจะมีลักษณะเป็นรูปโดม ซึ่งจะแสดงกระดูกหลังกะโหลก(Occiput) ที่ยื่นออกมาได้อย่างชัดเจน สำหรับกะโหลกแบนเรียบถือว่าเป็นข้อผิดพลาด(Falt) ความยาวจากจมูกถึงช่วงตรงกลางหน้าผากระหว่างตา(Stop) จะใกล้เคียงความยาวจาก Stop ถึง Occiput ด้านข้างทั้งสองด้านเรียบและห้อยย้อยลงมา มองจากด้านข้างหัวสุนัขจะเห็นแนวเส้นตรงบนดั้งจมูกนั้นจะตรง และขนานกับแนวเส้นตรงของกะโหลกหัว หนังบริเวณหัวทั้งหมด จะย่นเมื่อสุนัขก้มหัวลงรอยย่นจะปรากฎเป็นริ้วบริเวณหน้าผาก สุนัข Basset Hound ตัวใดก็ตามที่หนังหัวไม่ย่นจะถือว่าเป็นข้อผิดพลาด บริเวณด้านข้างระหว่างปากกับจมูก (Muzzle) ควรมีลักษณะใหญ่และห้อย จมูกควรมีสีเข้ม ยิ่งถ้าเป็นสีดำจะยิ่งดี จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกกว้างสำหรับจมูกสีน้ำตาลเข้มถ้าเข้ากับสีของหัวสุนัขก็ถือว่าไม่ผิด แต่ไม่เป็นที่นิยม ฟัน (Teeth) ควรมีลักษณะใหญ่แข็งแรงเป็นระเบียบ ฟันบนจะขบกับฟันล่างเป็นแบบ Scissors ถ้าลักษณะฟันแบบ Overshot หรือ Undershot ถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง (serious Fault) |
ริมฝีปาก | มีสีเข้ม มีลักษณะห้อยเอียงจากด้านหน้าไปด้านหลัง หนังบริเวณใต้คอ (Dewlap) จะห้อยมาก คอมีลักษณะแข็งแรงภายใต้ความยาวที่พอดีและมีส่วนโค้งที่ได้สัดส่วน ตา (Eyes) อ่อนโยน เศร้า ลักษณะของลูกตาจะเว้าลงไป ทำให้เห็นเปลือกตาล่างด้านใน ดวงตามีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ดวงตาสีอ่อนไม่ถือเป็นข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม สำหรับลักษณะลูกตาที่โปนออกมาจากเบ้าถือเป็นข้อผิดพลาด หู(Ears) ค่อนข้างยาว ห้อยลงมาต่ำ ใบหูควรจะยาวมาปิดจมูกได้ ลักษณะของพื้นผิวใบหูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ยาวเรียว ปลายหูม้วนเข้าข้างในเล็กน้อย กกหูจะอยู่ต่ำและค่อนไปทางด้านหลังของหัวบริเวณฐานกะโหลก ขณะที่ยืนนิ่งใบหูจะห้อยขนานกับต้นคอ ลักษณะกกหูที่อยู่สูงและใบหูแบบเรียบถือว่าเป็นข้อผิดพลาดร้ายแรง |
ส่วนหน้าของลำตัว |
จะมีอกยื่นออกมาเมื่อมองจากด้านข้าง ประกอบไปด้วยกระดูกอก(Sternum)ที่ยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัดโดยจะอยู่ระหว่างขาหน้า หัวไหล่และข้อศอกจะอยู่ชิดกับอก ช่วงห่างระหว่างอกกับพื้นควรห่างพอที่สุนัขจะเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก แต่ไม่ควรจะห่างเกิน 1 ส่วน 3 ของความสูงสุนัขเมื่อโตเต็มที่โดยวัดจากหัวไหล่ ไหล่ควรจะเอียงไปทางด้านหลังและดูแข็งแรง หัวไหล่ที่ตั้งตรงและการออกรวมทั้งข้อศอกไม่ชิดลำตัวถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง
|
ขาหน้า | มีขาหน้าสั้น เต็มไปด้วยพละกำลัง กระดูกใหญ่มีรอยย่นรอบๆขา ลักษณะขาหน้าโค้งงอไปด้านหน้า (Knucking Over) ถือว่าขาดคุณสมบัติ (Disqualification) อุ้งเท้าใหญ่แข็งแรง นิ้วเท้าเรียงชิดติดกัน อุ้งเท้ามีลักษณะกลมและเอียงออกเล็กน้อยเท่าๆกันทั้งสองข้างสมดุลย์กับความกว้างของหัวไหล่ ลักษณะข้อต่อระหว่างเท้ากับขาไม่ต่อกันถืเป็นความผิดพลาดอย่างแรง นิ้วเท้าทั้งสองข้างต้องไม่บิดและแบะออก เพราะมันจะทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของส่วนหน้าลำตัว ส่วนนิ้วเท้าเล็กๆข้างเท้าหน้าด้านใน (Dewclaws) สามารถตัดออกได้ |
ลำตัว | มีลำตัวยาว กระดูกซี่โครงเรียงกันไปจนถึงส่วนหลังของลำตัว กระดูกซี่โครงมีขนาดเหมาะสมที่จะปกป้องคุ้มครองหัวใจและปอด ส่วนกระดูกซี่โครงที่ยุบตัวหรือนูนออกมาไม่เรียบถือเป็นข้อผิดพลาด |
กระดูกเส้นหลัง | จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงได้ระดับเสมอกัน เส้นหลังที่มีลักษณะโค้งงอหรือเว้าลงถือเป็นข้อผิดพลาด |
ส่วนหลังของลำตัว | จะมีลักษณะกลมและแข็งแรง ความกว้างของส่วนหลังนี้จะเท่ากับความกว้างของหัวไหล่ ลักษณะส่วนหลังจะไม่ปรากฎลักษณะของขาหลังที่หย่อนหรือขาที่ไม่มีแรง เมื่อมองแล้วจะสัมพันธ์กับลำตัวทั้งหมด ส่วนหลังควรจะสัมพันธ์กับส่วนหน้าของลำตัว เพื่อที่สุนัขจะสามารถยืนได้อย่างมั่นคงบนขาหลังของมัน โดยไม่มีลักษณะข้อหัวเข่าขาหลัง (Stifle) โค้งงอออกหรือโค้งงอเข้า เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นว่าขาหลังทั้งสองข้างจะต้องชี้ไปข้างหน้า ถ้าบริเวณด้านล่างของขาหลัง (กระดูก Lower Thigh) ตั้งชันจนไม่เกิดมุมถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง นิ้วเท้าเล็กๆ ที่ขาหลัง (Dewclaws) ก็สามารถตัดออกได้ |
หาง | หางจะไม่มีลักษณะเป็นข้อต่อ กระดูกของหางจะเรียงตัวต่อกันและโค้งเล็กน้อย หางจะเป็นเครื่องที่แสดงความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับของสุนัขกลุ่ม Hound ขนบริเวณใต้หางจะมีลักษณะหยาบ |
ขนาด | ไม่ควรสูงเกิน 14 นิ้ว โดยวัดจากไหล่ Basset Hound สูงเกิน 15 นิ้ว ถือว่าขาดคุณสมบัติ |
ลักษณะการเดิน | สุนัข Basset Hound จะเคลื่อนตัวอย่างนุ่มนวล มีกำลังและมีพลังงานในการเคลื่อนตัวเนื่องจาก Basset Hound เป็นสุนัขดมกลิ่นมันจึงมักเดินเอาจมูกดมพื้นอยู่เสมอ ขณะที่มันเดินขาหน้าและขาหลังจะก้าวขนานไป ในขณะที่เท้าหน้าข้างหนึ่งก้าวไปข้างหน้า เท้าหลังข้างนั้นก็จะดันตัวไปข้างหลังเสมอ เท้าหน้าเมื่อเวลาเดินไม่ควรแบะออกไปด้านข้าง หรือก้าวหน้าแล้วแต่ละเท้าทิศทางการก้าวเท้าไปคนละทิศละทางไม่ตรงกัน และข้อศอกควรจะแนบลำตัว ข้อขาหลังทั้งสองข้างควรตั้งตรงในขณะที่เดิน |
ขน | ขนของ Basset Hound มีลักษณะแข็ง เรียบ และสั้น มีขนแน่นปกคลุมทั่วร่างกายทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับได้กับทุสภาพอากาศ ผิวหนังมีลักษณะห้อยและยืดหยุ่นได้ดี สุนัข Basset Hound ที่มีขนยาวถือว่าขาดคุณสมบัติ |
สีขน | ม่มีกำหนดว่าควรจะมีสีอะไร เพียงแต่เป็นสีที่ยอมรับได้ในสุนัขกลุ่ม Hound เรื่องสีและลาย (Marking) จึงถือว่าไม่สำคัญ |
ข้อบกพร่อง | * สูงเกิน 15 นิ้วเมื่อวัดจากหัวไหล่ * ขาหน้าโก่งงอไปข้างหน้า (Knuckled Over) * ขนยาว |



บลูเทอร์เรีย (Bull Terrier)
เป็นนักสู้ที่อ่อนหวานโดยธรรมชาติ เป็นนักสู้ที่ใจถึง เป็นสุนัขอารักขาที่กระฉับกระเฉง รักครอบครัวและอาณาเขตของเขาโดยสัญชาติญาณ ผู้ที่อาศัยอยู่ตามอพาร์ทเม้นท์ซึ่งมีเนื้อที่จำกัดจะนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้เพื่อช่วยอารักขา เนื่องจากเป็นสุนัขอารักขาที่ดี แล้วยังเป็นสุนัขที่ประหยัดอีกด้วย บางครั้งอาจจะดื้อรั้นไปบ้าง แต่ก็เป็นสุนัขที่เข้ากับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เขาอยู่ในโอวาทควรมีการฝึกปรือตั้งแต่วันแรกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจะเลี้ยงเขารวมกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น โดยธรรมชาติแล้วจะก้าวร้าวกับสุนัขที่ทำตัวเป็นเจ้าถิ่น
บูลเทอร์เรียเป็นสุนัขที่มีลําตัวและโครงสร้างที่แข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีส่วนสัดที่รับกันอย่างพอดี มีลักษณะปราดเปรียว คล่องแคล่วว่องไว จิตใจเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น มีไหวพริบและความฉลาดเป็นเลิศ ทั้งตัวเต็มไปด้วยความรู้สึกอย่างแรงกล้า แต่อีกส่วนก็มีจิตใจที่อ่อนหวาน อ่อนโยน ไม่ดื้อดึงกับระเบียบวินัย
เป็นนักสู้ที่อ่อนหวานโดยธรรมชาติ เป็นนักสู้ที่ใจถึง เป็นสุนัขอารักขาที่กระฉับกระเฉง รักครอบครัวและอาณาเขตของเขาโดยสัญชาติญาณ ผู้ที่อาศัยอยู่ตามอพาร์ทเม้นท์ซึ่งมีเนื้อที่จำกัดจะนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้เพื่อช่วยอารักขา เนื่องจากเป็นสุนัขอารักขาที่ดี แล้วยังเป็นสุนัขที่ประหยัดอีกด้วย บางครั้งอาจจะดื้อรั้นไปบ้าง แต่ก็เป็นสุนัขที่เข้ากับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เขาอยู่ในโอวาทควรมีการฝึกปรือตั้งแต่วันแรกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจะเลี้ยงเขารวมกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น โดยธรรมชาติแล้วจะก้าวร้าวกับสุนัขที่ทำตัวเป็นเจ้าถิ่น
บูลเทอร์เรียเป็นสุนัขที่มีลําตัวและโครงสร้างที่แข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีส่วนสัดที่รับกันอย่างพอดี มีลักษณะปราดเปรียว คล่องแคล่วว่องไว จิตใจเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น มีไหวพริบและความฉลาดเป็นเลิศ ทั้งตัวเต็มไปด้วยความรู้สึกอย่างแรงกล้า แต่อีกส่วนก็มีจิตใจที่อ่อนหวาน อ่อนโยน ไม่ดื้อดึงกับระเบียบวินัย
ศีรษะ
|
ต้องยาวมีความแข็งแรง ใบหน้าเต็มมองดูคล้ายไข่ ระยะจากปลายจมูกไปยังลูกตาเห็นได้ชัดเจนกว่า ระยะจากตาไปยังส่วนบนของกะโหลก กรามบนควรจะลึกและมองเห็นขอบเขตได้ชัดเจน
|
หู | ควรจะเล็ก บางและมีตำแหน่งใกล้กัน ตั้งตรงอยู่ตลอดเวลา |
ตา | จมลึกอย่างพอเหมาะ สีเข้ม เป็นประกาย ตาเป็นรูปสามเหลี่ยม ข้อด้อยของสุนัขพันธุ์นี้คือมีตาสีฟ้า |
จมูก | ควรเป็นสีดำ โค้งลงไปสู่ปลาย |
คอ | เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ยาวและเป็นสันโค้ง ผิวเรียบไม่หย่อนยาน |
อก | มองจากด้านหน้าอกต้องกว้าง มองจากด้านข้างอกลึก บริเวณอกใกล้พื้นกว่าบริเวณท้อง |
ลำตัว | หลังต้องสั้นและแข็งแรง หัวไหล่ต้องกว้างและเรียบ มีความลาดเอียงไปด้านหลังอย่างเด่นชัด |
ขา | มีกระดูดใหญ่ ไม่มีจุดที่น่าเกลียด เหยียดตรงได้รูป ข้อศอกทั้งสองข้างกางออก ข้อเท้าสั้นและตั้งตรง |
เท้า | กลมและกระชับ มีขอบเขตชัดเจนเหมือนเท้าแมว |
หาง | สั้น ห้อยต่ำ เรียว บริเวณโคนหางต้องหนาและเรียวแหลมไปยังปลาย |
ขน | สั้น เรียบ เมื่อลูบจะสาก ขนเป็นมัน หนังต้องตึง |
สี | ปรกติเป็นสีขาว มีสีอื่นบนใบหน้าเป็นที่ยอมรับได้ แต่ถ้ามีสีอื่นบนลำตัวจะกลายเป็นข้อด้อย |
การเดิน | มีอิสระในการก้าวย่าง ขาหน้าและขาหลังเคลื่อนไหวขนานกัน ต้องหนักแน่น กระฉับกระเฉง |
ข้อด้อย | ใบหน้าที่โค้งโก่งมาก ตาสีฟ้า มีสีขนสีอื่นมากกว่าสีขาว |


บูลด็อก (Bulldog)
ประวัติความเป็นมา
มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดอยู่ในกลุ่มมาสติฟ (Mastiff) โดยเชื่อกันว่าบูลด็อกเป็นสุนัขกลายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ Tibetan Mastiff ที่ดูโครงสร้างภายนอกไม่สมประกอบ มีตำราบางเล่มระบุว่าบูลด็อก สุนัขที่เกิดจากการถูกผู้เลี้ยงดูอย่างทรมาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสุนัขที่มีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ เช่น การนำวัสดุแข็งๆ มาทำเป็นหน้ากากคลุมหัวบูลด็อกไว้ เพื่อให้มีใบหน้าสั้นผิดปรกติไปจากสุนัขตัวอื่นๆ หรือการยับยั้งการเจริญเติบโตของสุนัขด้วยการขังไว้ในที่แคบๆ จนแทบไม่สามารถกระดิกตัวได้ เพื่อให้สุนัขมีรูปร่างแคระแกร็น
คำว่า บูล (Bull) ซึ่งหมายถึงบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็ก ชื่อนี้ได้มาจากการที่ชาวอังกฤษในสมัยยุคก่อนๆ ได้ฝึกสุนัขพันธุ์นี้ไว้เพื่อต่อสู้กับวัว เป็นการยากที่จะหาหลักฐานมาอ้างอิงว่าบูลด็อกกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้ออ้างอิงที่เป็นไปได้คือ ในสมัยปี ค.ศ. 1209 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของกษัตริย์จอห์น โดยท่านลอร์ดวิลเลี่ยม เอริล์วอร์เรนได้มองเห็นวัว 2 ตัว กำลังต่อสู้กันในสนามหญ้าหน้าวังของท่าน เพื่อแย่งชิงวัวตัวเมียอีกตังหนึ่ง จนกระทั่งฝูงสุนัขเลี้ยงวัวของคนเลี้ยงวัวได้ออกมาขับไล่วัวคู่นั้นออกไปจากบริเวณสนาม ท่านลอร์ดมีความยินดีมากและเกิดความคิดที่ว่าจะให้มีเกมกีฬาชนิดใหม่ขึ้นมา คือกีฬาสุนัขต่อสู้กับวัว ซึ่งต่อมาก็เป็นกีฬาที่นิยมกันมากในประเทศอังกฤษ
บูลด็อกโดยมากจะได้รับการฝึกให้มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย โดยเจ้าของสุนัขจะลงโทษด้วยวิธีการที่เจ็บปวด จึงทำให้บูลด็อกในอดีตมีนิสัยที่ดุร้าย ในการต่อสู้ในเกมกีฬาที่แสนหฤโหดและนองเลือด บูลด็อกจะถูกปล่อยลงสนามให้ต่อสู้กับวัวที่กำลังบ้าคลั่ง โดยมันจะบุกโจมตีบริเวณใบหูของวัว และกัดอยู่นานจนกว่าจะล้มวัวตัวนั้นได้ ต่อมาก็ได้มีการผสมพันธุ์เจ้าหน้าแก่นี้เสียใหม่ให้มีตัวเล็กลง เพื่อความว่องไวและปราดเปรียว ขณะเดียวกันจมูกที่เคยโด่งออกก็ถูกผสมให้แนบแบนติดกับใบหน้าเสีย เพราะจะทำให้มันโจมตีคู่ต่อสู้ได้นานกว่าเดิม
ยุคแรกๆ ของบูลด็อกมีขายาวกว่าพันธุ์ที่เห็นในปัจจุบัน แต่กระดูกเบากว่า ปากใหญ่และกะโหลกศีรษะเล็กกว่าทุกวันนี้ หูก็มีลักษณะตูบเล็กเพื่อความทนทานในการเสียดสีเมื่อต่อสู้ อีกประการหนึ่งก็คือหางยาวและม้วนพอง มีไว้ให้เจ้าของดึงออกจากคู่ต่อสู้ขณะต่อสู้อยู่
แต่แล้วยุคเสื่อมของบูลด็อกก็มาถึง เมื่อกีฬาต่อสู้กับวัวเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1835 กีฬาการต่อสู้สุนัขถูกบัญญัติให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย บูลด็อกจึงค่อยๆ หมดความหมายและพลอยถูกลืมเลือนไปด้วย ช่วงเวลาของความรุ่งโรจน์แห่งเผ่าพันธุ์ก็เริ่มหมดลง จำนวนของบูลด็อกก็ได้ลดลงไปมาก แต่โชคดีที่มีคนรักสุนัขและเสียดายในสายพันธุ์ได้ยื่นมือเข้ามาอนุรักษ์สายเลือดนี้ไว้ แม้ว่าความดุร้ายจะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คงลักษณะที่ดีๆ อย่างอื่นเอาไว้ จากหลักการนี้บูลด็อกจึงได้รับการคัดเลือกพันธุ์ตามวิธีการที่ถูกต้อง ภายในเวลาเพียงไม่กี่รุ่นก็ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีการประกวดบูลด็อกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 และในปี ค.ศ. 1864 ก็ได้ตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขพันธุ์บูลด็อกขึ้น บูลด็อกยังคงลักษณะที่ดีเด่นเอาไว้ครบถ้วน แต่ความโหดร้ายดุดันดั้งเดิมได้ถูกตัดออกไป จนถึงบัดนี้บูลด็อกได้รับการยกย่องเป็นสุนัขประจำชาติอังกฤษ เนื่องจากความอดทนกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของมัน วิญญาณของความเป็นนักสู้ในอดีตยังคงปรากฏให้เห็น แม้ว่าวันเวลาที่ผ่านไปจะทำให้มันเกิดเชื่องช้าลงบ้างก็ตาม
ประวัติความเป็นมา
มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดอยู่ในกลุ่มมาสติฟ (Mastiff) โดยเชื่อกันว่าบูลด็อกเป็นสุนัขกลายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ Tibetan Mastiff ที่ดูโครงสร้างภายนอกไม่สมประกอบ มีตำราบางเล่มระบุว่าบูลด็อก สุนัขที่เกิดจากการถูกผู้เลี้ยงดูอย่างทรมาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสุนัขที่มีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ เช่น การนำวัสดุแข็งๆ มาทำเป็นหน้ากากคลุมหัวบูลด็อกไว้ เพื่อให้มีใบหน้าสั้นผิดปรกติไปจากสุนัขตัวอื่นๆ หรือการยับยั้งการเจริญเติบโตของสุนัขด้วยการขังไว้ในที่แคบๆ จนแทบไม่สามารถกระดิกตัวได้ เพื่อให้สุนัขมีรูปร่างแคระแกร็น
คำว่า บูล (Bull) ซึ่งหมายถึงบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็ก ชื่อนี้ได้มาจากการที่ชาวอังกฤษในสมัยยุคก่อนๆ ได้ฝึกสุนัขพันธุ์นี้ไว้เพื่อต่อสู้กับวัว เป็นการยากที่จะหาหลักฐานมาอ้างอิงว่าบูลด็อกกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้ออ้างอิงที่เป็นไปได้คือ ในสมัยปี ค.ศ. 1209 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของกษัตริย์จอห์น โดยท่านลอร์ดวิลเลี่ยม เอริล์วอร์เรนได้มองเห็นวัว 2 ตัว กำลังต่อสู้กันในสนามหญ้าหน้าวังของท่าน เพื่อแย่งชิงวัวตัวเมียอีกตังหนึ่ง จนกระทั่งฝูงสุนัขเลี้ยงวัวของคนเลี้ยงวัวได้ออกมาขับไล่วัวคู่นั้นออกไปจากบริเวณสนาม ท่านลอร์ดมีความยินดีมากและเกิดความคิดที่ว่าจะให้มีเกมกีฬาชนิดใหม่ขึ้นมา คือกีฬาสุนัขต่อสู้กับวัว ซึ่งต่อมาก็เป็นกีฬาที่นิยมกันมากในประเทศอังกฤษ
บูลด็อกโดยมากจะได้รับการฝึกให้มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย โดยเจ้าของสุนัขจะลงโทษด้วยวิธีการที่เจ็บปวด จึงทำให้บูลด็อกในอดีตมีนิสัยที่ดุร้าย ในการต่อสู้ในเกมกีฬาที่แสนหฤโหดและนองเลือด บูลด็อกจะถูกปล่อยลงสนามให้ต่อสู้กับวัวที่กำลังบ้าคลั่ง โดยมันจะบุกโจมตีบริเวณใบหูของวัว และกัดอยู่นานจนกว่าจะล้มวัวตัวนั้นได้ ต่อมาก็ได้มีการผสมพันธุ์เจ้าหน้าแก่นี้เสียใหม่ให้มีตัวเล็กลง เพื่อความว่องไวและปราดเปรียว ขณะเดียวกันจมูกที่เคยโด่งออกก็ถูกผสมให้แนบแบนติดกับใบหน้าเสีย เพราะจะทำให้มันโจมตีคู่ต่อสู้ได้นานกว่าเดิม
ยุคแรกๆ ของบูลด็อกมีขายาวกว่าพันธุ์ที่เห็นในปัจจุบัน แต่กระดูกเบากว่า ปากใหญ่และกะโหลกศีรษะเล็กกว่าทุกวันนี้ หูก็มีลักษณะตูบเล็กเพื่อความทนทานในการเสียดสีเมื่อต่อสู้ อีกประการหนึ่งก็คือหางยาวและม้วนพอง มีไว้ให้เจ้าของดึงออกจากคู่ต่อสู้ขณะต่อสู้อยู่
แต่แล้วยุคเสื่อมของบูลด็อกก็มาถึง เมื่อกีฬาต่อสู้กับวัวเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1835 กีฬาการต่อสู้สุนัขถูกบัญญัติให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย บูลด็อกจึงค่อยๆ หมดความหมายและพลอยถูกลืมเลือนไปด้วย ช่วงเวลาของความรุ่งโรจน์แห่งเผ่าพันธุ์ก็เริ่มหมดลง จำนวนของบูลด็อกก็ได้ลดลงไปมาก แต่โชคดีที่มีคนรักสุนัขและเสียดายในสายพันธุ์ได้ยื่นมือเข้ามาอนุรักษ์สายเลือดนี้ไว้ แม้ว่าความดุร้ายจะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คงลักษณะที่ดีๆ อย่างอื่นเอาไว้ จากหลักการนี้บูลด็อกจึงได้รับการคัดเลือกพันธุ์ตามวิธีการที่ถูกต้อง ภายในเวลาเพียงไม่กี่รุ่นก็ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีการประกวดบูลด็อกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 และในปี ค.ศ. 1864 ก็ได้ตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขพันธุ์บูลด็อกขึ้น บูลด็อกยังคงลักษณะที่ดีเด่นเอาไว้ครบถ้วน แต่ความโหดร้ายดุดันดั้งเดิมได้ถูกตัดออกไป จนถึงบัดนี้บูลด็อกได้รับการยกย่องเป็นสุนัขประจำชาติอังกฤษ เนื่องจากความอดทนกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของมัน วิญญาณของความเป็นนักสู้ในอดีตยังคงปรากฏให้เห็น แม้ว่าวันเวลาที่ผ่านไปจะทำให้มันเกิดเชื่องช้าลงบ้างก็ตาม
ลักษณะทั่วไป
| บูลด็อกที่สมบูรณ์แบบต้องมีขนาดปานกลาง รูปรางบึกบึนและหนา กระดูกและกะโหลกศีรษะมีขนาดใหญ่มาก หน้าสั้น ใหญ่ กว้าง บริเวณหน้าผากมีรอยย่นลึก ตาอยู่ในตำแหน่งห่างจากใบหู กล้ามเนื้อหนังตาบนจะย่นเหมือขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา ริมฝีปากหนาและกว้าง มีกล้ามเนื้อหนาแน่น แขน ขาล่ำสัน แข็งแรง แผ่นหลังโค้งเล็กน้อย และจะยกสูงบริเวณสะโพก ลำตัวส่วนท้องจะคอด กระดูกซี่โครงมีลักษณะห่อกลมคล้ายมะขามป้อม ตะโพกค่อนข้างเล็ก หางสั้นและขดแน่นกับส่วนหลัง ด้านอุปนิสัยมีความทรหดอดทน อารมณ์คงที่มั่นคงอย่าเสมอต้นเสมอปลาย มีความตั้งใจแน่วแน่ กล้าหาญ พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นไปอย่างสงบและสง่า ท่าทางการเดินมีลักษณะแปลกเฉพาะตัว คล้ายข้อต่อกระดูกไม่แข็งแรง เหมือนการลากไป มีลักษณะการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างคล้ายการกลิ้งไป แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ต้องไม่เกร็ง เป็นอิสระและเข้มแข็ง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศีรษะ | ควรมีขนาดใหญ่ เมื่อวัดรอบศีรษะ โดยวัดจากด้านบนลงล่างผ่านใบหูควรจะมีความยาวมากกว่าความสูงของตัว เมื่อมองจากด้านหน้าศีรษะควรสูงมาก เมื่อมองจากมุมของขากรรไกรล่างไปถึงจุดสูงสุดของกะโหลกกว้างมากเป็นสี่เหลี่ยม เมื่อมองจากด้านข้างศีรษะอยู่สูงมาก และจากจมูกถึงท้ายทอยสั้นมาก หน้าผากควรมีรอยย่นลึกเป็นแนว และมีเส้นผ่าลึกลงมาจากส่วนบนมายังจมูกและปาก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จมูก | จมูกควรใหญ่ แลดูกว้างแต่สั้น ปลายจมูกควรจะมีรอยย่นลึก จมูกมีเส้นแบ่งเขตแนวชัดเจน รูจมูกใหญ่และเชิด จมูกควรจะมีสีเข้ม หากเป็นสีดำสนิทได้ยิ่งดี จมูกสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำไม่เป็นที่นิยม จมูกแดงเป็นสีเดียวกับสีผิวถือว่าผิดลักษณะ และถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือว่าเป็นจุดด้อยอย่างมาก นอกจากนี้จมูกต้องไม่แห้งหรือเปียกชุ่มเกินไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปาก | ริมฝีปากบนควรหนา กว้างและลึกมากห้อยลงมาปิดกรามล่างได้มิดชิด หากมองจากด้านข้างจะปิดริมฝีปากล่างและฟันมิดชิด แผ่นหลังที่หุ้มปากทั้งสองด้านควรมีขนาดใหญ่และยาวเท่าๆ กัน ขากรรไกรล่างใหญ่กว้าง เป็นสี่เหลี่ยมยื่นเลยขากรรไกรบนและงอนขึ้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟัน | ฟันควรอยู่ครบ 42 ซี่ ฟันล่างจะเกยอยู่ด้านนอก ฟันที่ดีต้องซี่ใหญ่แข็งแรงมั่นคง ฟันที่ยื่นออกมาต้องไม่มีลักษณะโค้งงอ ฟันเขี้ยวอยู่ห่างจากกัน ฟันตัด 6 ซี่ที่อยู่ด้านหน้าระหว่างฟันเขี้ยวอยู่ในแนวระดับเดียวกัน เวลาอ้าปากจะเห็นฟันซี่เล็กๆ 6 ซี่ทางด้านหน้า เวลาหุบปากไม่ควรจะให้เห็นฟันจึงจะดี และฟันควรขาวสะอาด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตา | ดวงตาควรมีลักษณะกลม ขนาดปานกลาง ไม่จมลึกหรือยื่นออกมามากเกินไป เมื่อมองจากด้านหน้าจะฝังอยู่ในกะโหลกศีรษะ อยู่ห่างจากหูมาก และตาทั้ง 2 ข้างไม่ควรอยู่ห่างกันมากนัก สีลูกตาควรเป็นสีเข้ม หนังตาปิดตาขาว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หู | ฐานหูทั้ง 2 ข้างควรจะยกสูงและควรจะอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลกัน ใบหูควรเล็กและบาง ปลายหูควรพับลงมาแนบกับศีรษะ ควรอยู่ห่างจากตาพอเหมาะ ลักษณะใบหูที่ดีควรมีลักษณะโคนตั้งปลายตกหรือกับกลีบดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด หูไม่ควรตั้งตรงและไม่ควรตกลงมาทั้งหมด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คอ | เนื่องจากบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีส่วนหัวใหญ่ ลำคอจึงควรใหญ่หนา สั้นและแข็งแรง และเป็นส่วนโค้งทอดไปยังส่วนหลัง หนังใต้ลำคอจะหย่อนลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ควรปล่อยให้ยาน เพราะถ้ายานและมีหนังหย่อนมามากแสดงว่ากำลังอ้วนเป็นพะโล้ แก้ไขโดยการออกกำลังกายบ่อยๆ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไหล่ | หัวไหล่ควรมีขนาดใหญ่ กว้างและมีมัดกล้ามเนื้อหนา ก่อให้เกิดความสมดุลและพละกำลังมาก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อก | กว้างมาก ลึกและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เห็นกล้ามเนื้อที่อกได้ชัดเจน ซี่โครงโค้งกลมจากหัวไหล่จนไปถึงจุดต่ำสุดของหน้าอก ทำให้สุนัขมองดูมีลักษณะกว้าง เตี้ยและขากว้าง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลำตัว | แข็งแรงกำยำ เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ไม่ควรผอมจนเห็นซี่โครงและไม่ควรอ้วนจนมองไม่เห็นกล้ามเนื้อบริเวณท้องน้อยควรจะขอดเล็กน้อย แนวสันหลังควรสั้นและแข็งแรง บริเวณที่ไหล่กว้างมากและค่อนข้างแคบ บริเวณบั้นท้ายซึ่งเป็นจุดที่ควรสูงกว่าความสูงที่ไหล่และมีความโค้งลาดต่ำอีกครั้งลงไปที่หาง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดมากสำหรับสุนัขพันธุ์นี้ จึงเรียกว่าหลังแมลงสาบหรือหลังวงล้อ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สะโพก | ควรจะโค้งมนได้รูป ส่วนก้นกลมและไม่มีกระดูกโปนออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขาหน้า | ควรสั้น สุนัขพันธุ์นี้มีขาหน้าที่สั้นกว่าขาหลัง ดังนั้นเมื่อสุนัขยืนจะทำให้ช่วงหน้าของลำตัวต่ำกว่าบั้นท้าย ขาที่ดีต้องแข็งแรง กระดูกขาใหญ่ ต้นขาเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ขาหน้าเวลายืนควรอยู่ห่างกัน ช่วงบนของขาหน้าแลดูเป็นวงโค้ง ข้อศอกควรอยู่ห่างจากลำตัว เท้าและนิ้วเท้าใหญ่พอประมาณแลดูกระทัดรัด เล็บที่ขาควรมีสีเข้มและควรเป็นสีเดียวกันกับขนบนลำตัว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขาหลัง | แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อและยาวกว่าขาหน้า เวลายืนตะโพกจะเชิดสูงทำให้ดูหลังแอ่น ส่วนขาควรสั้นและแข็งแรง ลักษณะของเท้าที่ดี ข้อเท้าที่ขาหลังควรจะหันออกจากลำตัวเล็กน้อย ขาหลังควรบิดออกเล็กน้อย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เท้า | ควรมีขนาดปานกลาง กระทัดรัดและแข็งแรง ปลายเท้าหน้าอาจตรงหรือเปิดออกเล็กน้อย แต่ขาหลังควรยื่นออกด้านนอก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หาง | อาจตรงหรือเป็นเกลียว แต่ไม่โค้งหรือม้วน หางต้องสั้น ห้อยต่ำ โคนหางใหญ่ ปลายเล็ก ถ้าหางเป็นเกลียว การม้วนหรือขมวดของหางจะมีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายก้นหอยแต่ต้องไม่หงิกงอ ปลายหางไม่ควรม้วนลงไปถึงโคนหาง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขน | ขนควรสั้นและเหยียดตรงแบนราบกับลำตัว สีของขนควรสม่ำเสมอ สะอาดสดใสและดูเป็นมันเงา ขนต้องไม่ยาวหรือขึ้นเป็นลอน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผิวหนัง | อ่อนนุ่มและไม่ตึง โดยเฉพาะที่หัว คอและหัวไหล่ รอยย่นและเหนียงตรงคอ ศีรษะและหน้าควรปกคลุมด้วยรอยย่นขนาดใหญ่ และที่คอจากขากรรไกรจนถึงหน้าอกควรจะมีรอยย่นที่ห้อยออกมาเป็น 2 แนว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สี | สีขนของบูลด็อกมีหลายสี สำหรับสีขนที่ถือเป็น 2 สีในตัวเดียวกัน ในสุนัขที่มี 2 สี แต่ละสีควรเป็นสีเดียวที่บริสุทธิ์ไม่มีสีอื่นเจือปนให้เป็นสีผสม และควรมีการกระจายสีในลักษณะที่สมดุล บูลด็อกที่มีสีดำทั้งตัวไม่เป็นที่นิยม แต่ก็ไม่ถึงกับไม่เป็นที่ยอมรับ สำหรับบูลด็อกที่มีสีนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้นถือว่าใช้ไม่ได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเดินการวิ่ง | ถึงแม้จะดูอืดอาดเชื่องช้าเวลาเดินต้องส่ายสะโพกไปมา ลักษณะการก้าวย่างควรดูอิสระ คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเวลาเดิน ลำตัวต้องไม่แกว่งมาก จนดูเหมือนไม่มีกระดูก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำหนักและส่วนสูง | เพศผู้ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 24-25 กิโลกรัม เพศเมียอยู่ในช่วง 22-23 กิโลกรัม ส่วนความสูงเพศผู้ควรอยู่ระหว่าง 16-18 นิ้ว และเพศเมียควรสูง 12-15 นิ้ว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อบกพร่อง | จมูกมีสีเนื้อหรือจมูกเผือก ![]() ![]()
เชา เชา (Chow Chow)
เชา เชาเป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น มีประวัติศาสตร์สายพันธุ์มายาวนาน กว่า 2000 ปี สุนัขเชา เชา เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์มาสตีฟแห่งธิเบตและพันธุ์ชามอยจากตอนเหนือของไซบีเรีย แต่มีข้อโต้แย้งว่าเชา เชาอาจเป็นสุนัขพันธุ์แท้ดั้งเดิม เพราะเป็นเพียงสุนัขพันธุ์เดียวในโลกที่มีลิ้นสีดำปนน้ำเงิน เชา เชาเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษในปี 1880 โดยพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงให้ความสนพระทัย สมาคมสุนัขพันธุ์เชา เชาได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษในปี 1895 สุนัขพันธุ์เชา เชามีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ มีความเฉลียวฉลาดในกลวิธีการล่าสัตว์ ปัจจุบันสุนัขพันธุ์เชา เชาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในบ้านเราจัดได้ว่าได้รับความนิยมอยู่ในเกณฑ์สูงและจัดได้ว่าเป็นสุนัขที่ค่อนข้างมีระดับ เหตุเพราะว่าเป็นสุนัขที่มีราคาค่อนข้างสูง จากการที่เชา เชามีขนหนาแน่นปกคลุมอยู่ทั่วตัว ทำให้ร่างกายอุ้มความร้อน ดั้งนั้นเชา เชาจึงชอบอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ในสภาพอากาศที่ร้อนอย่างบ้านเรา มักจะทำให้เหนื่อยง่ายและเฉื่อยชา แต่อย่างไรก็ตามการที่เชา เชามีการขยายพันธุ์ในหลายๆ รุ่น ทำให้สามารถปรับสภาพกับอากาศในเมืองไทยได้พอสมควร
![]() ![]()
ไทยหลังอาน (Thai RidgeBack)
สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานถือได้ว่าเป็นสุนัขประจำชาติไทย ที่ได้รับการยอมรับให้จดทะเบียนสุนัขต่อสมาพันธ์สุนัขโลก(FCI) ซึ่งเป็นสุนัขพันธุ์ไทยที่มีชาวต่างชาติหลายๆ ประเทศให้ความสนใจและนำไปเลี้ยง ในปัจจุบันสุนัขพันธุ์ไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มฮาวนด์(GROUP HOUND) โดยสมาคมพัฒนาสุนัข(ประเทศไทย) เป็นผู้จัดอันดับให้ เพื่ออนาคตของสุนัขไทยหลังอานจะได้ก้าวสู่งานประกวดในกลุ่มฮาวนด์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมาตรฐานสายพันธุ์ที่ยอมรับของสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานคือ
![]() ![]()
สแตฟฟอร์ดเชียร์ เทอร์เรียร์ (STAFFORDSHIRE TERRIER)
ความเหมาะสมในการเลี้ยงสุนัขพันธุ์สแตฟฟอร์ดเชียร์ เทอร์เรียร์ คือ ต้องการครอบครัวหรือผู้ที่สามารถอุทิศเวลาให้มันเป็นสุนัขที่ฝึกได้ง่าย มันมีความพึงพอใจที่จะเอาใจผู้เป็นเจ้าของ เป็นสุนัขที่คุ้นเคยกับผู้คนและเฉลียวฉลาดมาก เป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพลังงาน มีความสามารถในเชิงกีฬา ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงร่วมกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ และถ้าเลี้ยงร่วมกับเพศเดียวกันก็จะเกิดการต่อสู้กัน สุนัขพันธุ์นี้มีสายเลือดของสุนัขพันธุ์บูลด็อกและสุนัขพันธุ์เทอร์เรียร์เท่าๆ กัน ก็เลยตัวล่ำ สู้ไม่ถอย เคยมีประวัติมวยสุนัขติดอยู่ในประวัติศาสตร์ของอังกฤษมาตั้งแต่ต้นคริสต์ษตวรรษที่ 19 แล้ว ชื่อนี้เอามาจากพวกชาวเหมืองของเมืองสแตฟฟอร์ดเชียร์ประเทศอังกฤษ ที่ตั้งหน้าตั้งตาเพาะสุนัขบ่อนเอาไว้กัดกันมาช้านาน ก่อนที่จะมีกฎหมายห้ามกัดสุนัข อเมริกาเพิ่งรู้จักสุนัขพันธุ์นี้เมื่อปี 1870 ซึ่งในตอนแรกเรียกกันว่า แยงกี้เทอร์เรียร์บ้าง หรือไม่ก็อเมริกันบูลล์เทอร์เรียร์บ้าง พวกนักเลงเพาะสุนัขที่อเมริกาเน้นหนักกันที่ขนาดและรูปร่าง สุนัขที่เพาะจากอเริกาก็เลยตัวหนักกว่าเดิม สุนัขรุ่นสมัยใหม่นี้ทิ้งนิสัยนักเลงไปแล้ว กลายสุนัขที่สุภาพและวางใจได้ ว่ากล่าวก็ง่าย เมื่อนำมาเลี้ยงก็คงไม่สามารถที่จะหาใครที่น่ารักและภักดีเหมือนเจ้าสแตฟฟอร์ดเชียร์ตัวนี้ไม่ได้อีกแล้ว มันจะรักเจ้านายถึงขั้นยอมถวายชีวิตเลยทีเดียว
![]() ![]() ![]()
ดัลเมเชียน (DALMATIAN)
เป็นสุนัขที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน มีประวัติและตำนานอันยาวนาน รูปร่างของเขาเป็นการผสมผสานระหว่าง สุนัขพันธุ์พ้อยเตอร์และสุนัขพันธุ์ฮาวนด์ที่มีใบหูเล็กและผิวหนังที่ตึงของทวีปยุโรปตะวันออก เนื่องจากมันไม่ได้ถูกใช้เป็นสุนัขดมกลิ่นหรือช่วยในการล่าสัตว์ จึงเป็นการยากที่จะรู้ถึงเทือกเถาเหล่ากอที่แน่ชัด ตามตำนานได้เล่าขานว่า เล่าขานว่ามาจากทางตอนเหนือของประเทศอินเดียเมื่อนานมาแล้ว แล้วถูกนำเข้าทวีปยุโรปตะวันออกโดยชาวยิปซี เนื่องจากพบบันทึกเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ในเมืองดัลเมเชียในยุคแรกๆ จึงมีการตั้งชื่อสุนัขพันธุ์นี้ว่าดัลเมเชียน ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดอย่างไร เจ้าที่คอยวิ่งตามม้าเทียมรถตั้งแต่ยุคกลาง เพื่อปกป้องนักท่องเที่ยวจากโจรที่ปล้นคนเดินทาง แต่ในที่สุดมันก็กลายมาเป็นเครื่องประดับของผู้รากมากดี จากภาพที่สุนัขพันธุ์นี้วิ่งไปตามถนนของกรุงลอนดอน เพื่อกันผู้คนไม่ให้ไปเกะกะเจ้าหน้าที่ดับเพลิง จึงมีชื่อเล่นว่าสุนัขดับเพลิง ดัลเมเชียนเป็นสัตว์เลี้ยงที่สะอาด สงบเสงี่ยมและมองได้ไกล กลายเป็นสุนัขที่คอยระแวดระวังเกี่ยวกับเพลิงไหม้ เป็นสุนัขที่ไม่ค่อยเห่ายกเว้นจะมีอะไรหลงเข้ามา สุนัขพันธุ์นี้มีความอดทนอย่างเหลือเชื่อ สามารถที่จะวิ่งในความเร็วปานกลางแบบไม่มีกำหนด ความจำเป็นในการออกกำลังกายจึงมีมาก
![]() ![]() ![]()
ฟเร็นช บลูด็อก (French Bulldog)
ประมาณปี 1860 มีสุนัข Bulldog มากมายในประเทศอังกฤษและสุนัขชนิดนี้ไม่ค่อยนิยมเลี้ยงเท่าไร สุนัขเหล่านี้บางส่วนถูกส่งเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส และได้ผสมกับสุนัขพันธุ์ต่างๆในฝรั่งเศส จนในที่สุดเกิดเป็นสุนัขพันธุ์ French Bulldog ขึ้นและสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงในประเทศฝรั่งเศสโดยเฉพาะสุภาพสตรี ปี 1880 ปารีส เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมของชาวอเมริกาผู้มั่งคั่ง และเมื่อมีข่าวสุนัขพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ต่างก็ต้องการอยากจะไปดูด้วยตาตนเอง สิ่งที่พวกเขาได้พบคือสุนัขพันธุ์ French Bulldog สุนัขพันธุ์นี้มาจากอังกฤษ ความจริงอเมริกามีอิทธิพลในการเลือกเพาะพันธุ์นี้ขึ้นมาให้มีลักษณะอย่าง French Bulldog ในปัจจุบันได้รับการยอมรับที่สามารถให้พัฒนาให้มีหัวอย่างมัสตีฟ ขากรรไกรเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลำตัวกะทัดรัดและที่สำคัญคือที่ใบหูเหมือนค้างคาวอย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ French Bulldog เป็นสุนัขพันธุ์เล็กน้ำหนักไม่เกิน 28 ปอนด์ หน้าเหมือน Bulldog ทั่วไป ริมฝีปากหนา จมูกหักสั้นเข้าไปด้านใน นัยน์ตาสดใส ลักษณะพิเศษคือใบหูเหมือนค้างคาว ซึ่งไม่มีสุนัขพันธุ์ใดในโลกนี้เหมือนเขาจะเห่าและขู่บ้าง แต่มีความเป็นมิตรชอบทำตัวเป็นเจ้าของบ้านมากกว่าเป็นผู้อารักขา พร้อมที่เป็นมิตรกับคนแปลกหน้าเสมอไม่ว่าจะเป็นคนแก่ เด็ก แมว และสัตว์อื่นๆ มีนิสัยขี้เล่น ร่าเริงรักเด็กขนาดใกล้เคียงกับ Pug และ Boston Terrier
![]() ![]() ![]()
ไซบีเรีย ฮัสกี (SIBERIAN HUSKY)
สุนัขพันธุ์ SIBERIAN HUSKY มีถิ่นกำเนิดในไซบีเรียน สุนัขพันธุ์นี้ถูกคัดเลือกพันธุ์ขึ้นโดยชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า CHUKCHI เพื่อให้ทำหน้าที่ล่าสัตว์และเฝ้ายาม แต่ต่อมาถูกพัฒนาให้มีลักษณะของสุนัขลากเลื่อน ประมาณ คศ.1900 มีการแข่งขันสุนัขลากเลื่อน ALASKA โดยมีระยะทางถึง 400 ไมล์ สุนัขที่ชนะในการแข่งขันคือสุนัขพันธุ์ SIBERIAN HUSKY หลังจากนั้นกีฬาแข่งลูกสุนัขลากเลื่อนก็เป็นที่นิยมมากขึ้น สุนัขพันธุ์นี้ก็มักจะชนะอยู่เสมอ AKC. รับรองสุนัขพันธุ์นี้ในปี คศ.1930
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)